วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดีที่ 16 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

กิจกรรมวันนี้
หัวข้อ การสร้างภาพปริศนาคำทาย
1.เลือกเเละกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
2.วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
3.เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดขึ้นโดยเรียงลักษณะที่หลายๆสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น
4.นำมาจัดเรียงลำดับ
5.เเต่งประโยคที่มีคำซำ้


การสร้างภาพปริศนาคำทาย
1 เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
2 วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
3 เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้นโดยเริ่มจากลักษณะทีของหลายๆสิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
4 นำมาจัดเรียงลำดับ
5 แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ

เช่น ฉัน ตั้ง ชื่อ มัน ว่า ดิ้งด่อง
ดิ้งด่อง เป็น สิ่งมีชีวิต และ มี สี่ ขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า''หมา''
 หมา เป็น สิ่ง มีชีวิต และมีสี่ขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และ ตัวโตโต
 มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ช้าง"
ช้าง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และตัวโตโต
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต  มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"วัว"
 วัว เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ควาย"
 ควาย เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
ฉันตอบว่า"ใช่ ดิ้งด่อง คือ ควาย"
 ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
เพื่อน เก่ง จัง เลย   (คัดลอกมาจากนางสาวสว่างจิตร์  คำชมพู)

บันทึกครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดี ที่9 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

-วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

บันทึกครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดีที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

-ได้ฟังนิทานจาก Ebook
 เทคนิคในการเล่านิทาน

1. ควรทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องนิทานที่จะเล่าเสียก่อนโดยจินตนาการออกมาเป็นภาพอ่านเรื่องช้าๆ เพื่อจับใจความ
2. ควรเลือกคำที่เป็นคำง่ายๆ ที่เด็กฟังหรือนึกออก เป็นภาพในจินตนาการได้
3. เมื่อในเนื้อเรื่องมีตัวละครคุยกันให้ใช้บทสนทนา เพราะทำให้เด็กตื่นเต้นกว่า
4. เริ่มต้นเรื่องให้ดีเพื่อเรียกร้องความสนใจ พยายามหลีกเลี่ยงการบรรยายและ
5. การเล่าเรื่องควรใช้เสียงแบบสนทนากัน คือ ช้า ชัดเจน มีหนักเบา แต่ไม่ควรมีเอ้อ อ้า ที่นี้ 6. ขณะที่เล่านิทานควรจับเวลาให้ดี เว้นจังหวะตามอารมณ์ของเรื่อง เช่น ถ้าเนื้อเรื่องมีสิ่งเร้าใจก็พูดให้เร็วขึ้นทำท่าจริงจัง

*ในการถามคำถามเด็ก ควรตั้งคำถามที่เปิดกว้าซึ่งจะทำให่เด็กมีอิสระในการตอบ

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่8

วันพฤหัสบดีที่ 26 เดือน มกราคม พ.ศ.2555


บลูมเเละฮาเลย์ ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการคือ

 1.ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัสที่ใช้เเทนสิ่งของ สถานที่ กิริยาอาการ เเละเหตุการณ์ต่างๆ เช่น เด็กกินขนม
2.ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมติ เกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์ เช่น บ้าน ประเทศ ความโศกเศร้า
3.ภาษาเป็นระบบ ภาษามีระบบกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่ เช่น มีคำที่เป็นประธาน กริยา กรรม
 
    จึงสรุปได้ว่า ภาษาคือ สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเเละทำความเข้าใจซึ่งกันเเละกัน

   

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 7

วันอาทิตย์ที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ.2555

    - วันนี้อจารย์ได้เปิดวีดีโอจากเวปไซต์ โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง)
การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทาน
และ อาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลัก  และอาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร?   กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ
อาจารย์ได้ใให้นักศึกษาไปหาความหมาย
ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
สมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อก

*คัดลอกงานจาก นางสาวดาราวรรณ (เเตง)


บันทึกครั้งที่ 6


วันพฤหัสบดี ที่ 12 เดือน มกราคม พ.ศ.2555


-นำเสนอ VDO การเล่านิทานให้เด็กฟังพร้อมตั้งคำถาม 3 ข้อ










บันทึกครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดี ที่ 5 มกราคม พ.ศ.2555

     -วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Powerpoin เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้น้องฟังเเล้วนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป

หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
        • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และ ประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
        • ประโยชน์ที่เด็กจะ ได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ             • เนื้อหา และลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใ้ช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า

บันทึกครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 29 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554

   - อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แล้วให้แต่ละคนเขียนภาษาถิ่นของตัวเองส่ง อาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเพราะว่าอาจารย์ จะไปร่วมกิจกรรมงานปีใหม่ของน้องๆที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม

บันทึกครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดี ที่ 22 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554

ภาษาสำหรับเด็ก คือ เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ที่ทำให้สามารถเข้าใจในความหมายรู้ถึงความต้องการเพราะเด็กอาจจะไม่เเสดงออกมาทางคำพูดเเต่จะเเสดงออกมาทางจากท่าทางกิริยา
  
     -วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษารายงาน งานที่มอบหมายไว้สัปดาห์ที่แล้วหน้าชั้นเรียนพร้อมเปิดวีดีโอ
และอาจารย์ได้อธิบายพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์มา
    - ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กสองภาษา ครูควรทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและการเรียนรู้ภาษาที่สองมี ความแตกต่างกัน การทำความเข้าใจดังกล่าวนำไปสู่การจัดประสบการณ์ทางภาษาอย่างเหมาะสมสำหรับเด็กกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาที่มีความหลากหลายเอื้อต่อความต้องการของเด็ก

งาน
-สัปดาห์หน้าให้นำเสนอคลิป VDO เล่านิทานให้เด็กฟังโดยตั้งคำถาม 3 ข้อพร้อมสังเกตพฤติกรรมของเด็ก

บันทึกครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 15 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554

พัฒนนาการคือ การเปลี่ยนเเปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เเละขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของพ่อเเม่เเละความใกล้ชิดของพ่อเเม่ผู้ดูเเล

วิธีการเรียนรู้ของเด็ก 

         - สังเกตุ

         - สัมผัส
         - ฟัง
         - ดมกลิ่น
         - ชิมรส
สมอง คือ การรับรูข้อมูลโดยการผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5โดยการใช้สติปัญญาการคิดเเละสามารถพัฒนาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน

 การเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เเละควรให้เด็กได้มีอิสระในการ ลองผิดลองถูก เลือก การตัดสินใจด้วยตัวของเด็กเอง

งาน

-ให้สัมภาษณ์เด็กโดยใช้คำถามอะไรก็ได้